เคล็ดลับน่ารู้ !! ก่อนการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า

เมื่อพูดถึงการออกกำลังกายแล้ว สิ่งที่หลายๆ ท่านนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้นการวิ่งหรือเดินใช่ไหมคะ เพราะการวิ่งและการเดินนั้น นอกจากจะทำให้เราได้สุขภาพที่เเข็งแรง เผาผลาญไขมันได้ดีเเล้ว ยังส่งผลถึงการทำงานของระบบหัวใจให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

1. ข้อแตกต่างของมอเตอร์
ลู่วิ่งไฟฟ้าจะมีมอเตอร์ 2 แบบ คือ

1) มอเตอร์แบบ DC เป็นมอเตอร์สำหรับวิ่งเบาๆ ในช่วงเวลาที่ไม่นาน

2) มอเตอร์แบบ AC เป็นมอเตอร์สำหรับผู้ที่ต้องการวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ มีอายุการใช้งานได้นานกว่ามอเตอร์ DC และราคาของมอเตอร์ AC นี้ก็จะมี ราคาที่สูงขึ้นเช่นกัน

มอเตอร์ของลู่วิ่งไฟฟ้ามีหน่วยคือ “แรงม้า” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “Horsepower” ตัวย่อ “HP”

มอเตอร์ DC 1.0 HP สำหรับเดินออกกำลังกาย

มอเตอร์ DC 2.0 HP สำหรับจ๊อกกิ้ง วิ่งเบาๆ

มอเตอร์ DC 3.0 HP ขึ้นไปสำหรับวิ่งเร็ว

2. สายพาน(พื้นที่สำหรับเดินและวิ่ง)
ความกว้าง = ความสบายเพราะยิ่งสายพานกว้างก็จะทำให้การออกกำลังกายสบายยิ่งขึ้น

ความยาว = ความสูงของคนวิ่ง เพราะถ้าผู้วิ่งรูปร่างสูงช่วงก้าวก็จะยาว เพราะฉะนั้นจึงต้องเลือกลู่วิ่งที่มีขนาดสายพานที่ยาวเป็นพิเศษเพื่อกันการวิ่งออกนอกลู่วิ่งไฟฟ้า

** สายพานหรือพื้นที่วิ่ง ต้องสอบถามให้แน่ชัดว่าสายพานหรือพื้นที่วิ่งนั้นไม่นับรวมขนาดของที่พักเท้า ยิ่งสายพานของลู่วิ่งกว้างและยาวเท่าไร ราคาก็จะสูงขึ้น

ดังนั้น ควรเลือกขนาดของสายพานที่เหมาะสมกับร่างกายของผู้วิ่ง อย่าให้แคบหรือมีพื้นที่น้องจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้ตอนออกกำลังกายไม่สนุกรู้สึกอึดอัดได้ค่า

3. ความเร็วของลู่วิ่งไฟฟ้า
ลู่วิ่งไฟฟ้าสำหรับใช้ที่บ้านส่วนใหญ่แล้วจะนิยมที่ความเร็วระหว่าง 8-10 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเร็วระดับหนึ่ง ไม่เร็วและไม่ช้าจนเกินไป

ความเร็ว 0-5 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับ เดิน

ความเร็ว 6-9 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับ วิ่งเบา ๆ หรือจ็อกกิ้ง

ความเร็ว 10-14 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับ วิ่งเร็ว

ความเร็ว 15-22 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับ วิ่งเร็วมาก(HIIT Cardio)

4. ความชัน
ความชันทำให้การออกกำลังกายของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น เปรียบเสมือนการวิ่งขึ้นภูเขา ยิ่งปรับความชันสูงขึ้นมากเท่าไหร่ จะยิ่งเผาผลาญ ไขมัน มากขึ้นเท่านั้น ลู่วิ่งไฟฟ้าสามารถปรับระดับความชันได้ 2 รูปแบบ

1) ความชันแบบ Auto (สั่งการด้วยปุ่ม) (ราคาจะสูงกว่าแบบ Manual)

2) ความชันแบบ Manual (ปรับด้วยตัวผู้วิ่งเอง)

* ข้อสังเกตุของความชันแบบ Manual ส่วนท้ายของเครื่องจะมีที่ปรับระดับส่วนมากจะมี 3 รู คือ ปรับได้ด้วยมือ 3 ระดับเท่านั้น

** ลู่วิ่งไฟฟ้าบางรุ่นจะไม่สามารถปรับความชันได้

5. ระบบลดแรงกระแทก
ระบบลดแรงกระแทกจะติดตั้งอยู่ในส่วนของใต้กระดานของลู่วิ่งไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดแรงกระแทก ลดอัตราการเกิดการบาดเจ็บของข้อเท้าและหัวเข่า

ชนิดของระบบลดแรงกระแทกจะมีอยู่ 3 ชนิด เพิ่มการอธิบายการทำงาน หรือลักษณะของแต่ละระบบทั้งสามระบบด้วยค่า

1) ระบบลดแรงกระแทกแบบโช้ค – ควบคุมการยุบตัว และการยืดตัวของสปริง ลดแรงกระแทกในขณะวิ่ง

2) ระบบลดแรงกระแทกแบบ Air Cushion – ระบบลดแรงกระแทกในรูปแบบอากาศที่อัดอยู่ภายในยางใต้สายพาน ความรู้สึกเสมือนรองเท้ากีฬา ช่วยป้องกันการบาดเจ็บของข้อเท้าและหัวเข่าได้เป็นอย่างดี

3) ระบบลดแรงกระแทกแบบ Soft Cushion – ระบบลดแรงกระแทกในรูปแบบยาง มีความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการคืนตัวสูง

* บางรุ่นมีระบบลดแรงกระแทก แต่ไม่สามารถมองเห็นจากด้านนอก เนื่องจากการออกแบบที่แตกต่างกันของแต่ละรุ่น

6. หน้าจอและโปรแกรม
Function แสดงรายละเอียดพื้นฐานที่จะต้องมีในการออกกำลังกายทั้งหมด คือ

– ค่าความเร็ว

– ค่าความชัน

– แคลอรี่ที่เผาผลาญ

– ระยะทางที่วิ่ง

– การเต้นของหัวใจ

– เวลาในการวิ่ง

* บางรุ่นจะมีลำโพงสำหรับฟังเพลง Mp3 หรือ บางรุ่นหน้าจอสามารถสัมผัสและเชื่อมต่อกับ Wi-Fi เพื่อใช้งาน Internet ได้เลย

** บางรุ่นจะมีโปรแกรมในการวิ่ง คือ ระบบอัตโนมัติที่จะปรับความเร็วและความชันให้ตามระยะเวลาที่เลือก โดยที่จะคล้ายกับภารกิจที่ต้องทำในแต่ละช่วงเวลาของการวิ่ง เช่น 5 นาทีวิ่งเร็ว 15 นาทีวิ่งเร็วมาก ซึ่งจะเพิ่มความสนุกและท้าทายในการวิ่งมากยิ่งขึ้น

7.การรองรับน้ำหนัก
ลู่วิ่งไฟฟ้าแต่ละรุ่นจะสามารถรับน้ำหนักของผู้วิ่งได้ต่างกัน จึงต้องคำนวณจากหลายปัจจัย เช่น น้ำหนักของผู้วิ่ง น้ำหนักของเครื่องและขนาดของมอเตอร์

1) มอเตอร์ 1-2.5 HP สำหรับผู้วิ่งที่มีน้ำหนัก 50-80 กิโลกรัม

2) มอเตอร์ 3.0 HP ขึ้นไป สำหรับผู้วิ่งที่มีน้ำหนัก 80-100 กิโลกรัม

3) มอเตอร์ 4.0 HP ขึ้นไป สำหรับผู้วิ่งที่มีน้ำหนัก 100-150 กิโลกรัม

* ถ้าหากน้ำหนักผู้วิ่งมากกว่าน้ำหนักที่มอเตอร์รองรับ ลู่วิ่งไฟฟ้าจะทำงานหนักและชำรุดได้

** ควรจะเผื่อน้ำหนักเพื่อรองรับการกระแทกประมาณ 15-20 กิโลกรัม

*** อายุการใช้งานของมอเตอร์ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้วิ่งด้วย หากเลือกมอเตอร์ไม่เหมาะสมกับน้ำหนักลู่วิ่ง แล้วมอเตอร์รับไม่ไหว จะทำให้ต้องเปลี่ยนมอเตอร์บ่อยได้ค่า

8. การพับเก็บ
ลู่วิ่งไฟฟ้ามีทั้งแบบที่สามารถพับเก็บได้(การพับเก็บของแต่ละรุ่นจะไม่เหมือนกันทั้งหมด)และแบบที่ไม่สามารถพับเก็บได้ส่วนใหญ่ จะเป็นรุ่นที่มีขนาดใหญ่

ระบบพับเก็บจะมีอยู่ทั้งหมด 2 รูปแบบ คือ

– ระบบสลักล๊อค ยกส่วนท้ายของลู่วิ่งขึ้น จากนั้นใช้สลักยึดตัวลู่วิ่ง ระบบนี้จะเหมาะกับลู่วิ่งที่มีขนาดใหญ่มาก เนื่องจากต้องใช้แรงในการยก และบางรุ่นอาจจะไม่สามารถพับเก็บเป็นแนวตั้งได้

– ระบบไฮดรอลิค จะเป็นระบบไฮดรอลิคที่ช่วยในการพยุงน้ำหนักของลู่วิ่งในการขึ้นและลง ช่วยลดการใช้แรงในการยกตัวลู่วิ่ง

9. การรับประกันสินค้าและการบริการหลังการขาย
สินค้าจะมีการรับประกันที่แตกต่างกันไป เช่น ลู่วิ่งไฟฟ้า จะมีประกันมอเตอร์ไฟฟ้า 5 ปี ประกันสินค้า 1 ปี

** ผู้วิ่งควรสอบถามเรื่องการรับประกันและขั้นตอนการดูแลลู่วิ่งไฟฟ้า ระยะเวลาที่ใช้ในการบริการซ่อม อะไหล่ที่มีสำรอง ค่าใช้จ่ายในการบริการต่างๆ สามารถขอคืนสินค้าได้หรือไม่

คำเตือน บางร้านและบางรุ่นอาจจะไม่มีบริการหลังการขาย ควรสอบถามทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ

10. การบริการจัดส่ง
คนส่วนใหญ่จะยังไม่ทราบ ลู่วิ่งไฟฟ้าบางรุ่น(ขนาดเล็ก-ขนาดกลาง) สามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง ใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากประกอบใส่กล่องสำเร็จมาแล้ว การจัดส่งสินค้าของแต่ละร้านจะแตกต่างกันไป ผู้วิ่งควรสอบถามให้แน่ชัดว่า มีบริการจัดส่งและติดตั้งให้หรือไม่ มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งไหม ส่งสินค้าจากที่ไหน ใช้เวลาในการจัดส่งกี่วัน และแนะนำวิธีการใช้งานด้วยหรือไม่ ฯลฯ

เป็นอย่างไรบ้างคะสำหรับ 10 วิธีการง่ายๆ สำหรับการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า ไม่ใช่เพียงแต่คุณลูกค้าจะได้ลู่วิ่งไฟฟ้าที่เหมาะสมเพียงอย่างเดียวนะคะ ยังช่วยในการประเมินค่าใช้จ่าย ความคุ้มค่าของราคาในงบที่ตั้ง และที่สำคัญได้ทั้ง “ความสุข” และ “สุขภาพที่ดี” ด้วยค่ะ

ลู่วิ่งไฟฟ้ากับการวิ่งธรรมดาจะแตกจ่างกันอย่างไร

ลู่วิ่งไฟฟ้ากับการวิ่งธรรมดาจะแตกจ่างกันอย่างไรหลายคนคงสงสัยว่าทำไมต้องมีลู่วิ่งไฟฟ้าในเมื่อเราสามารถไปวิ่งหรือเดินเล่นตามสวนสาธารณะ กินลม ชมวิวได้ หรือวิ่งตามสถานที่ต่างๆ ที่มีพื้นแตกต่างกันเพื่อความท้าทายอย่างพื้นหญ้า คอนกรีต หิน ดิน ทราย หรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะสามารถรองรับตัวเราได้ แต่เดี๋ยวก่อน! อย่าลืมสิว่าด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันที่วันๆ เอาแต่ปั่นงานจนไม่มีพัก แล้วเวลาออกกำลังกายจะมีเหรอ ถึงมีก็น้อยมาก เราจึงจำเป็นต้องมี ลู่วิ่ง ไว้ที่ทำงานบ้างล่ะ ที่บ้านบ้างล่ะ หรือใครชอบเข้าสังคมอาจจะยอมเสียเวลาเดินทางไปที่ยิมก็ย่อมได้

ลู่วิ่งไฟฟ้า

ลู่วิ่งไฟฟ้าต่างจากการวิ่งธรรมดาอย่างไร

1. สามารถปรับความเร็วได้ แน่นอนว่าการวิ่งอาจจะต้องมีวิ่งช้าวิ่งเร็ว วิ่งเลี้ยวไปตามทาง อาจจะมีเหนื่อยๆ ก็หยุดพักงี้ แต่สำหรับลู่วิ่งไฟฟ้าที่สามารถปรับความเร็วได้นั้น มันทำให้เรารู้สึกมีเป้าหมายว่าฉันจะต้องวิ่งด้วยความเร็วเท่านี้ให้ได้ ถึงเหนื่อยก็สามารถผ่อนความเร็วได้
2. ปรับระดับความชันของลู่วิ่ง ก็เหมือนถ้าเราอยากจะวิ่งขึ้นเขา เราก็แค่ปรับความชันเท่านั้นเอง ทั้งง่าย สะดวก และรวดเร็ว
3. ฟังก์ชั่นเอนเตอร์เทน คือฟังก์ชันที่มีทั้งดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม แล้วแต่เราจะเลือกเลย คือดี คือมันครบ แถมไม่ต้องเปลืองแบตโทรศัพท์เหมือนตอนไปวิ่งที่สวนอีกนะ
4. มีโหมดและโปรแกรมการวิ่ง อันนี้เหมือนมีเทรนเนอร์ส่วนตัวคอยบอกคอยสอนตลอดเวลา คือจะมีโหมดและโปรแกรมการวิ่งต่างๆ ให้เราเลือก แล้วก็จะบอกให้เราปรับนั่นนี่เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและลดไขมันขณะวิ่ง

ลู่วิ่งไฟฟ้า เป็นเครื่องออกกำลังกายที่หลายๆ คนมักจะนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ ในการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายด้วยลู่วิ่งไฟฟ้า เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่คิดอยากจะลดน้ำหนักหรือสร้างกล้ามเนื้อให้กับร่างกาย การเลือกลู่วิ่งไฟฟ้า สำหรับใช้งานที่บ้าน ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับคนที่ชื่นชอบการวิ่งเพื่อสุขภาพ โดยไม่ต้องแคร์ในเรื่องของสภาพอากาศฟ้าฝนจะโหมกระหน่ำขนาดไหน เราก็ยังคงออกกำลังกายได้ภายในบ้านของเราเอง แต่ถ้าหากมีเวลา ก็อยากจะชวนให้ทุกคนออกไปวิ่งที่สวนสาธารณะเปลี่ยนบรรยากาศกันบ้าง เพราะนอกจากจะได้สุขภาพที่ดีแล้ว ยังได้พบปะผู้คน ชมวิวสวนสวยไปพร้อมๆกันอีกด้วย